บทที่ 4 การสร้าง Selection ภาพกราฟฟิก

  การสร้าง Selection หรือการเลือกพื้นที่การทำงานของภาพกราฟิก เป็นสิ่ง
สำคัญสำหรับการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนรูปภาพในส่วนที่ต้องการ ซึ่งโปรแกรม Adobe PhotoShop 7.0 ได้เตรียมเครื่องมือเพื่อให้เลือกใช้สำหรับ Selection ภาพในส่วนต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น การใช้เครื่องมือ Rectangular Marquee ในการ Selection รูปภาพที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมการใช้ Elliptical Marquee เพื่อ Selection รูปภาพที่ต้องการให้เป็นแบบวงกลม หรือจะใช้ Extracting แยกภาพออกจากพื้นหลัง ซึ่งภาพที่ได้สามารถตัดทิ้งหรือคัดลอกเพื่อทำสำเนาและยังสามารถปรับรูปทรงของภาพได้ตามต้องการด้วยเครื่องมือ Transform เป็นต้น

          การจัดการเกี่ยวกับรูปภาพไม่ว่าจะเป็นการ Retouching Image ภาพเก่าให้เป็นภาพตามจินตนาการ การตัดต่อภาพ การปรับแต่งหรือแก้ไขรูปภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะในการ Selection รูปภาพหรือการเลือกพื้นที่การทำงานเพื่อทำการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้ได้รูปภาพตามต้องการ ซึ่งโปรแกรม Adobe PhotoShop 7.0ได้เตรียมเครื่องมือในการสร้าง Selection รูปภาพไว้มากง่ายต่อการใช้งานการใช้งาน Layer เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานกับภาพกราฟิกเพราะ Layer จะใช้สำหรับลำดับขั้นตอนการทำงาน ซึ่งถ้าเปรียบ Layer เ หมือนการวางหนังสือซ้อนกันหลาย ๆ เล่ม โดยถ้าวางหนังสือเล่มเล็กอยู่ด้านล่างแล้วหนังสือเล่มใหญ่อยู่ด้านบนก็จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นหนังสือเล่มที่อยู่ด้านล่าง ในทางกลับกันถ้าวางหนังสือเล่มใหญ่ไว้ด้านล่างแล้ววางเล่มเล็กไว้ด้านบน จะทำให้มองเห็นหนังสือทั้งหมดที่วางซ้อนกัน ดังภาพ







การวางหนังสือเล่มเล็กอยู่ด้านล่าง การวางหนังสือเมเล็กอยู่ด้านบนตัวอย่างการใช้ Layer 

1.คลิกที่เมนู Window -> Layer จะปรากฏพาเล็ต Layer ซึ่งมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังภาพ





2. จะสังเกตว่าในพาเล็ต Layer ยังไม่มีขั้นตอนการทำงานใด ๆ ให้เปิดไฟล์รูปภาพมา 1 รูป จะสังเกตว่า Layer ได้เก็บรูปที่เปิดไว้เป็น Layer แรกและตั้งชื่อ Layer เป็น Background



3. เปลี่ยนชื่อ Layer จาก Background เป็น Layer 0 โดยดับเบิลคลิกที่คำว่า Background จะปรากฏหน้าต่างดังรูป





4. คลิกที่ปุ่ม OK ชื่อเลเยอร์จะเปลี่ยนเป็น Layer 0
5. จากนั้นสร้าง Layer เพิ่มโดยคลิกที่เครื่องมือ Create a New Layer
จะได้ Layer 1 เพิ่มขึ้นบน Layer 0 ซึ่งสังเกตว่า Layer 1 ยังเป็น Layer ว่างไม่มีการทำงานใด ๆ




6. คลิกที่ Layer 1 จากนั้นคลิกที่เครื่องมือ Paint Bucket Tool แล้วคลิกตรงพื้นที่การทำงานเพื่อเทสีลงบนภาพจะสังเกตว่าภาพด้านล่างโดนบังด้วยสีที่เทลงไป






7. คลิกที่ Layer 1 จากนั้นคลิกที่ลูกศรสามเหลี่ยมในตัวเลือก Opacity จะ ปรากฏแถบปรับความโปร่งแสงให้เลื่อนปรับความโปร่งแสงที่ 22% จะสังเกตว่าการ ทำงานจะกระทำเฉพาะ Layer 1 เมื่อปรับความโปร่งแสงจะทำให้สามารถมองเห็น ภาพที่อยู่ใน Layer ด้านล่าง ดังภาพ






8. การสลับตำแหน่งของ Layer เพื่อวางลำดับภาพใหม่สามารถทำได้โดย คลิกที่ Layer 1 จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากมาวางด้านล่าง Layer 0 จะได้ผลลัพธ์ดังรูป





       การสร้าง Selection
                การสร้าง Selection หรือการเลือกพื้นที่ภาพคือ การใช้เครื่องมือเลือกส่วนที่ต้องการปฏิบัติการ ซึ่งโปรแกรม Adobe PhotoShop 7.0 มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับเลือกพื้นที่ไว้เป็นจำนวนมาก สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับชิ้นงานได้เป็นอย่างดีการสร้าง Selection ด้วยกล่องเครื่องมือ (Tools Box) ในกลุ่ม Rectangular Marquee เครื่องมือในกลุ่ม Rectangular Marquee ประกอบด้วย Rectangular Marquee, Elliptical Marquee, Single Row Marquee และ Column Marquee ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน




            กลุ่มเครื่องมือ Rectangular Marquee การใช้ RectangularMarquee
 1.คลิกเลือกเครื่องมือ Rectangular Marquee
 2. กำหนดออปชันของเครื่องมือที่ออฟชันบาร์ ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้




การเลือกพื้นที่ ประกอบด้วยNew Selection เป็นการเลือกพื้นที่ใหม่ Add to Selection เป็นการเลือกพื้นที่เพิ่มจากที่เลือกไว้เดิม Subtract from Selection เป็นการเลือกพื้นที่แบบตัดส่วนที่ทับกันออก Intersect
with Selection เป็นการเลือกพื้นที่แบบเอาเฉพาะส่วนที่ทับกันไว้

      ตัวอย่างการใช้ New Selection



   ตัวอย่างการใช้ Add to Selection



         ตัวอย่างการใช้ Subtract from Selection




          ตัวอย่างการใช้ Interesct with Selection



           การปรับความฟุ้งเบลอที่กรอบนอกของพื้นที่ที่เลือก ในกรณีที่ต้องการให้เกิดความฟุ้งเบลอให้ใส่ตัวเลขตั้งแต่ 1 ขึ้นไปที่ช่องของ Feather ซึ่งถ้าตัวเลขมากก็จะเกิดความฟุ้งเบลอมาก และต้องใส่ตัวเลขความฟุ้งเบลอก่อนจากนั้นจึงปฏิบัติการเลือกพื้นที่



          รูปแบบการเลือกพื้นที่ การเลือกพื้นที่มี 3 รูปแบบ คือ
-Normal เป็นการเลือกแบบทั่วไป 
-Constrained Aspect Ration เป็นการเลือกแบบกำหนดอัตราความกว้าง Width และความสูง Height
-Fixed Size เป็นการกำหนดขนาดของพื้นที่เลือกไว้แน่นอน

       คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากไปในตำแหน่งพื้นที่ที่ต้องการเลือก จะปรากฏเส้นกรอบล้อมรอบส่วนที่เลือก ถ้าต้องการยกเลิกการเลือกให้กดปุ่ม Ctrl + D ที่คีย์บอร์ด การสร้าง Selection ด้วยกล่องเครื่องมือ (Tools Box) ในกลุ่ม Lasso Tool กลุ่มเครื่องมือ Lasso Tool ประกอบด้วย Lasso,Polygonal Lasso และ Magnetic Lasso ซึ่งเครื่องมือแต่ละแบบจะเหมาะกับงานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของรูปภาพที่ต้องการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข และออปชันจะเหมือนกับเครื่องมือกลุ่ม Rectangular Marquee




           การใช้ Lasso Tool
             การใช้เครื่องมือ Lasso Tool จะใช้สำหรับเลือกพื้นที่รูปภาพแบบอิสระ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เครื่องมือ Lasso Tool จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการ เมื่อถึงจุดสิ้นสุดจึงปล่อยเมาส์ ดังภาพ



          การใช้ Polygonal Lasso 
             การเลือกพื้นที่โดยใช้เครื่องมือ Polygonal Lasso จะมีการทำงานคล้ายกับ Lasso Tool แตกต่างที่ Polygonal Lasso จะสามารถหยุดการเลือกภาพได้เป็นจุด ๆ โดยคลิกเมาส์ด้านซ้ายตรงจุดที่ต้องการหยุดเมื่อสิ้นสุดการเลือกให้ดับเบิลคลิกตรงจุดสิ้นสุด ดังภาพ


          การใช้ Magnetic Lasso 
             การเลือกพื้นที่โดยใช้เครื่องมือ Magnetic Lasso จะเหมาะกับภาพที่มีความแตกต่างระหว่างภาพที่ต้องการกับภาพพื้นหลังเนื่องจาก Magnetic Lasso จะทำงานคล้ายกับแม่เหล็กโดยการคลิกเมาส์ที่จุดเริ่มต้นแล้วลากเมาส์ผ่านจุดที่ต้องการเครื่องมือจะทำการเลือกพื้นที่ให้โดยอัตโนมัติและเมื่อลากเสร็จให้ดับเบิลคลิกที่จุดสิ้นสุด ดังภาพ



          การสร้าง Selection ด้วยกล่องเครื่องมือ (Tools Box) โดยใช้ Magic Wand การสร้าง Selection ภาพด้วย Magic Wand เป็นการสร้างตามค่าของสีที่คลิกโดยถ้าตำแหน่งของสีที่คลิกมีสีเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันก็จะสร้างเป็น Selection ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกที่เครื่องมือ Magic Wand
2. ปรับเปลี่ยนออปชันที่ออฟชันบาร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้




3. คลิกเลือกตำแหน่งของรูปภาพที่ต้องการ Selection ดังรูป


            การสร้าง Selection ด้วยคำสั่ง Color Range
                เป็นการสร้าง Selection ที่มีค่าสีเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันและสามารถเลือกซ้ำ ๆ ได้ เพื่อเก็บรายละเอียดของภาพที่เลือก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกที่เมนู Select -> Color Range




2. จะปรากฏหน้าต่าง Color Range ซึ่งมีส่วนประกอบดังภาพ




3. คลิกเลือกตำแหน่งของรูปภาพที่ต้องการจะสังเกตเห็นส่วนที่เลือกจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีเทาขึ้นอยู่กับสี ดังรูป


4. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏหน้าต่างแสดงพื้นที่ที่เลือกดังรูป



                 การใช้ Extract แยกภาพออกจากพื้นหลัง
                เป็นคำสั่งที่ใช้ลบฉากหลังออกจากภาพที่ต้องการ ซึ่งสามารถปรับความเหลื่อมกันของสีในรูปภาพได้ดีกว่าการลบแบบธรรมดา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกที่เมนู Filter -> Extract
2. จะปรากฏหน้าต่างการทำงานของ Extract ดังรูป




          ส่วนประกอบของ Extractกล่องเครื่องมือ Edge Highlighter ใช้สำหรับสร้างกรอบของรูปภาพที่ต้องการFill ให้สำหรับเติมสีหลังสร้างกรอบรูปภาพเสร็จด้วยเครื่องมือEdge HighlighterEraser ใช้สำหรับลบกรอบของรูปภาพที่สร้างด้วยเครื่องมือ EdgeHighlighter หรือลบสีที่ใช้เครื่องมือ Fill เทสี Eyedropper ใช้สำหรับเลือกสี Cleanup ใช้สำหรับเกลี่ยขอบให้เรียบหลัง Preview Edge Touchup ใช้สำหรับตกแต่งให้เส้นขอบคมชัดขึ้นหลัง Preview Zoom ใช้สำหรับย่อขยายภาพHand ใช้สำหรับเลื่อนดูภาพ
3. กำหนดขนาดของหัวแปรงที่ Brush Size กำหนดตัวเลขมากขนาดหัวแปรงจะใหญ่ขึ้น
4. คลิกที่เครื่องมือ Edge Highlighter จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้ลากเลือกรูปที่ต้องการโดยสามารถหยุดพักได้จากนั้นลากเส้นต่อจากรอยเดิม ดังรูป


5. คลิกที่เครื่องมือ Fill จากนั้นเทสีลงบนตำแหน่งที่เลือก ดังรูป




6. คลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อแก้ไขรายละเอียดของภาพ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK จะได้รูปภาพที่ไม่มีพื้นหลัง ดังรูป



             การตัดรูปภาพ
                เป็นการประยุกต์ใช้ Selection ร่วมกับคำสั่ง Cut เพื่อนำภาพที่ตัดออกไปจัดการตามต้องการ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 
1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกที่เครื่องมือ Rectangular Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Edit -> Cut หรือคลิกที่เครื่อมือ Move Tool แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการดังรูป



             การคัดลอกรูปภาพ
                  การคัดลอกรูปภาพ คือ การสร้างสำเนาของรูปภาพขึ้นมาหลาย ๆ รูป โดยรูปที่ทำสำเนาอาจจะวางไว้ในไฟล์เดียวกันหรือจะสร้างเป็นไฟล์ใหม่ก็ได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

             วิธีที่ 1
1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ กดปุ่ม Alt ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกที่เครื่องมือ Move Tool ลากไปตำแหน่งที่ต้องการจากนั้นปล่อยเมาส์จะได้สำเนารูปภาพ ดังรูป


            วิธีที่ 2
1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกที่เครื่องมือ Rectangular Marquee จากนั้นปรับ Feather เป็น 20 Px หรือจะSelection ภาพแบบอื่นตามต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Edit -> Copy เพื่อคัดลอกรูปภาพ




3. จากนั้นสร้างไฟล์รูปภาพขึ้นใหม่โดยคลิกที่เมนู File -> New จะปรากฏหน้าต่างดังภาr




4. คลิกที่ปุ่ม OK เนื่องจากไฟล์รูปภาพที่สร้างขึ้นได้กำหนดขนาดพื้นที่การทำงานเท่ากับขนาดรูปภาพที่คัดลอกไว้
5. คลิกที่เมนู Edit -> Paste เพื่อวางรูปภาพที่คัดลอกไว้ ดังรูป




          การย่อ – ขยายภาพด้วยคำสั่ง Free Transform
1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกที่เมนู Select -> All หรือกดปุ่ม Ctrl + A เพื่อ Selection ภาพทั้งหมด
3. คลิกที่เมนู Edit -> Free Transform หรือกดปุ่ม Ctrl + t ที่คีย์บอร์ด จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยม 8 จุดล้อมรอบภาพ
4. เลื่อนเมาส์ไปวางในตำแหน่งจุดสี่เหลี่ยมใด ๆ จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วย่อ – ขยาย รูปภาพตามต้องการ รายละเอียดดังรูป






5. จากนั้นกดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด เพื่อยกเลิกเครื่องมือ Free Transform การปรับรูปทรงภาพด้วยคำสั่ง Transform 

           การปรับรูปทรงของรูปภาพมีหลายรูปแบบ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกที่เมนู Select -> All หรือกดปุ่ม Ctrl + A เพื่อ Selection ภาพทั้งหมด
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform จะปรากฏคำสั่ง ดังนี้







Again เริ่มทำใหม่ก่อนหน้านี้ 1 ครั้ง

Scale การปรับรูปทรงภาพแบบแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวทแยง

Rotate การหมุนภาพ

Skew การปรับรูปทรงภาพในลักษณะปิดเอน

Distort การปรับรูปทรงภาพในลักษณะบิดเบือน

Perspective การปรับรูปทรงภาพในลักษณะมีมิติคง รูปเหมือนจริง

Rotate 1800 การหมุนแบบ 180 องศา

Rotate 900 CW การหมุนแบบ 90 องศาตามเข็มนาฬิกา

Rotate 900 CCW การหมุนแบบ 90 องศาทวนเข็มนาฬิกา

Rotate 1800 CCW การหมุนแบบ 180 องศาทวนเข็มนาฬิกา

Filp Horizontal การกลับด้านภาพจากซ้ายไปขวาหรือจาก ขวาไปซ้าย

Flip Vertical การกลับด้านภาพจากบนลงล่างหรือจาก ล่างขึ้นบน

             การใช้คำสั่ง Scale
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือ จะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Scale
4. ปรับรูปทรงของรูปภาพตามต้องการ




           การใช้คำสั่ง Rotate
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Rotate
4. หมุนรูปภาพตามต้องการ



           การใช้คำสั่ง Skew
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Skew
4. ปรับรูปทรงของรูปภาพตามต้องการ



            การใช้คำสั่ง Distort
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือ จะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Distort
4.ปรับรูปทรงของรูปภาพตามต้องการ




           การใช้คำสั่ง Perspective
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Perspective
4. ปรับรูปทรงของรูปภาพตามต้องการ




           การใช้คำสั่ง Rotate 1800
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Rotate 1800


                                                               


         การใช้คำสั่ง Rotate 900 CCW
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือ จะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Rotate 900 CCW



           การใช้คำสั่ง Flip Horizontal
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Flip Horizontal



           การใช้คำสั่ง Flip Vertical
1.เปิดไฟล์รูปภาพ
2. คลิกที่เครื่องมือ Elliptical Marquee หรือจะ Selection ภาพแบบอื่นตามต้องการ
3. คลิกที่เมนู Edit -> Transform -> Flip Vertical
4. หมุนรูปภาพตามต้องการ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น